วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการผสมเทียมโค

 
ขั้นตอนการผสมเทียม 
  • เตรียมแม่โคที่เป็นสัดเข้าซองบังคับสัตว์
  • เตรียมน้ำอุ่น อุณหภูมิ 35 – 40 องศาเซลเซียส ลงในภาชนะ
  • นำหลอดน้ำเชื้อพันธุ์ที่ต้องการผสม ลงวอร์มประมาณ 20 – 30 วินาที
  • นำหลอดน้ำเชื้อที่วอร์มเสร็จแล้ว เช็ดให้แห้งบรรจุลงบนปลายปืนฉีดน้ำเชื้อ โดยดึงแกนปืนฉีดน้ำเชื้อลงมาให้หลอดน้ำเชื้อลงบรรจุได้พอดี
  • ใช้กรรไกรตัดปลายหลอดน้ำเชื้อออกประมาณ 1 ซม. หรือสิ้นสุดสีปิดหลอด
  • นำหลอดครอบพลาสติกมาสวมลงบนปลายปืนฉีดน้ำเชื้อ ดึงลงมาให้สุดด้านล่าง พร้อมทั้งล๊อคปืนฉีดน้ำเชื้อกับหลอดครอบพลาสติกให้แน่น ดันแกนปืนฉีดน้ำเชื้อขึ้นมาด้านบน จนมีน้ำเชื้อปริ่มๆ เพื่อดูว่ามีน้ำเชื้อในหลอดหรือไม่
  • สวมถุงมือด้านที่ล้วง เหน็บปืนฉีดน้ำเชื้อไว้กับรักแร้ด้านตรงข้ามที่สวมถุงมือ
  • ทำความสะอาดอวัยวะเพศ
  • ใช้มือเปิดปากอวัยวะเพศ และนำปืนฉีดน้ำเชื้อสอดเข้าปากอวัยวะเพศ
  • เมื่อสอดเครื่องยิงน้ำเชื้อหรือปืนฉีดน้ำเชื้อเข้าไปแล้ว ใช้มือที่สวมถุงมือล้วงเข้าทางทวาร เพื่อไปสัมผัสกับคอมดลูก เพื่อแต่งให้ปลายเครื่องยิงน้ำเชื้อ อยู่ที่บริเวณคอมดลูก
  • หลังจากนั้นให้ฉีดน้ำเชื้อเข้าบริเวณคอมดลูกหรือตัวมดลูก
  • เมื่อฉีดน้ำเชื้อเรียบร้อย ถอนเครื่องยิงออกพร้อมทั้งนวดมดลูกเบาๆ ปล่อยวัวออกจากซองบังคับ
  • ทำการบันทึกประวัติการผสม, ชื่อเจ้าของโค, พร้อมกับกำหนดวันคลอด เพื่อให้เจ้าของโคได้รับทราบ
  • หลังจากผสมไปแล้ว 21 วัน ถ้าแม่โคไม่แสดงอาการเป็นสัดอีก แสดงว่าแม่โคตัวดังกล่าวอาจจะผสมติด
  • ถ้าผสมติด แม่โคจะคลอดลูกเมื่อตั้งท้องได้ประมาณ 280 วัน
การเลี้ยงปลาดุก

การผสมเทียมปลาดุก

การผสมเทียมปลาดุก

1. การเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์
ควรเลี้ยงในบ่อดินที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป โดยปล่อยในอัตรา 20-30 ตัว/ตรม. ที่ระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร ควรมีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี และพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของปลาให้มีไข่และน้ำเชื้อดียิ่งขึ้นจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ฤดูกาลผสมพันธุ์ปลาดุก จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม- ตุลาคมก่อนฤดูกาลผสมพันธุ์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ ควรเริ่มคัดปลาที่มีไข่แก่สมบูรณ์บางส่วนมาเริ่มดำเนินการผสมเทียม.


2. การคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์
พ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่นำมาใช้ควรเป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่บอบช้ำ และควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป การสังเกตลักษณะปลาเพศเมียที่ดีในการเพาะพันธุ์ดูได้ จากส่วนท้องจะอูมเป่ง ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ติ่งเพศจะมีลักษณะกลมมีสีแดง หรือชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบา ๆ ที่ท้องจะมีไข่ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีน้ำตาลอ่อนใสไหลออกมา ส่วนปลาดุกเพศผู้จะมีติ่งเพศยาวเรียว มีสีชมพูเรื่อ ๆ ปลาไม่ควรมีขนาดอ้วนหรือผอมจนเกินไป ขนาดพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุก ควรมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 200 กรัมขึ้นไป หรือปลาที่มีอายุประมาณ 7-8 เดือน หรือ 1 ปี ให้อาหารที่มีคุณภาพดี เพื่อให้มีไข่แก่ จะใช้เวลา 3-4 เดือน มีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลาถึงวัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น ส่วนปลาดุกเทศเพศผู้นิยมใช้ ขนาดน้ำหนักตัวมากกว่า 500 กรัมขึ้นไป และควรเป็นปลาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี ลำตัวเพรียวยาวและไม่อ้วนจนเกินไป


3. อุปกรณ์และวิธีการผสมเทียม
1. พ่อ-แม่พันธุ์ปลา 2. ฮอร์โมนต่อมใต้สมองปลา หรือฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ 3. โกร่งบดต่อมใต้สมอง 4. เข็มฉีดยา 5. เครี่องชั่งน้ำหนัก สามารถชั่งได้ถึงจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง 6. ภาชนะสำหรับผสมไข่ปลากับน้ำเชื้อ ได้แก่ กะละมังพลาสติก และขนไก่ 7. น้ำเกลือและน้ำกลั่น 8. อุปกรณ์ในการกกไข่ปลา เช่น กระชัง อวนมุ้งเขียว 9. อุปกรณ์ในการอนุบาลลูกปลา


4. ชนิดและวิธีการฉีดฮอร์โมน
ฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกมีไข่แก่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อนั้นมีหลายชนิดซึ่งสามารถแยกได้ ดังนี้ 1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ได้แก่ ต่อมใต้สมองปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ต่อมใต้สมองปลาจีน ปลาโรฮู่ ปลาสวาย ปลาไน เป็นต้น มีหน่วยความเข้มข้นคือโดส ซึ่งมีสูตรการคำนวณ คือ การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองจะต้องฉีดสองครั้ง ครั้งแรกฉีดที่ระดับความเข้มข้น 1 โดส ทิ้งระยะห่าง 6 ชั่วโมง จึงฉีดครั้งที่สองที่ระดับความเข้มข้น 2 โดส หลังจากนั้นประมาณ 9 - 10 ชั่วโมง เมื่อสังเกตเห็นว่ามีไข่ตกออกมาจากช่องท้องของแม่ปลาบางตัวแล้ว จึงรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้ การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ สามารถไข้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุก โดยไข้ความเข้มข้นของฮอร์โมนได้เช่นเดียวกับการฉีดปลาดุกอุย แต่ระยะเวลาการรีดไข่หลังการฉีดเข็มสองจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งต่างจากปลาดุกอุย 5-6 ชั่วโมง การใช้ต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลาวางไข่ อาจใช้ร่วมกับฮอร์โมนสกัดเพื่อให้การฉีดไข่สะดวกขึ้น โดยใส่ฮอร์โมนสกัดในระดับความเข้มข้น 100-300 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใช้ต่อมใต้สมองในอัตราเท่าเดิม ส่วนปลาเพศผู้สามารถกระตุ้นให้มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยใช้ต่อมใต้สมองที่ระดับความเข้มข้น 0.5 โดส ฉีดให้กับพ่อปลาพร้อมกับการฉีดฮอร์โมนให้กับแม่ปลาครั้งที่สอง 2. ฮอร์โมนสกัด (Extract hormone) ได้แก่ เอช ซี จี HCG (Human chorionic Gonadotropin) มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไอ.ยู. (l.U. - lnternational unit) การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCE) สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 3,000-5,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสกัดเป็นเวลาประมาณ 15 -16(1/2) ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้ การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCG) ฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวเหมือนกับปลาดุกอุยที่ระดับความเข้มข้น 2,000 -4,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนเป็นเวลาประมาณ 9(1/2) - 11 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมเทียมได้ ในเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสกัดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 200 - 400ไอยู/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ประมาณ 6 ชั่วโมง ก่อนผ่าเอาถุงน้ำเชื้อออกมาไข้ในการผสมเทียม 3. ฮอร์โมนสังเคราะห์ (Synthetic hormone) ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไมโครกรัม (ug) ซึ่งในการฉีดกับปลาดุกต้องใช้ร่วมกับสารระงับการทำงานของระบบการหลั่งฮอร์โมนคือ โดมเพอริโดน (Domperidone) หรือมีชื่อทางการค้าว่าโมทีเลียม (Motilium) ซึ่งมีหน่วยเป็น มิลลิกรัม (mg) ขนาดที่มีขายโดยทั่วไปคือ เม็ดละ 1O มิลลิกรัม การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยไข้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกอุยมีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 20-30 ไมโครกรัมแม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/ แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์นี้เป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้ การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกเทศมีไข่สุกได้โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 15-30 ไมโครกรัม / แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้ ในปลาเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 5 ไมโครกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ร่วมกับโดมเพอริโดน 5 มิลลิกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ก่อนผ่าถุงน้ำเชื้อประมาณ 10 ชั่วโมง


5. ปริมาณสารละลายที่ใช้
หลังจากที่เตรียมฮอร์โมนที่จะฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกแล้ว การคำนวณสารละลายที่จะผสมกับฮอร์โมนเพื่อฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเป็นเรื่องที่ควรคำนึง คือ จะต้องใช้น้ำกลั่นหรือน้ำสะอาดเติมในปริมาณที่เหมาะสม โดยการฉีดปลาดุกขนาด 200-500 กรัม จะใช้ปริมาณสารละลายผสมแล้ว ประมาณ 0.3-0.7 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 500-2,000 กรัม ควรใช้ปริมาณสารละลายผสมประมาณ 0.4 -1.2 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 2,000 กรัมขึ้นไปใช้ สารละลายประมาณ 1.0-2.5 ซีซี


6. ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมน
การฉีดฮอร์โมนปลาดุกนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว โดยใช้เข็มเบอร์ 22-24 แทงเข็มเอียงทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แทงลึกประมาณ 1 นิ้ว/(2 เซนติเมตร) ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง ควรฉีดครั้งที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรกหลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุก แล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง ควรฉีดครังที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรก หลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุกแล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก

7. การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ
การรีดไข่ของปลาดุกเพื่อผสมกับน้ำเชื้อนั้นใช้วิธีกึ่งเปียก เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด นำแม่ปลาที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนและมีไข่แก่เต็มที่แล้วมารีดไข่ใส่ในภาชนะผิวเรียบ เช่น กะละมังเคลือบ พร้อมกันนี้ผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อปลา นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียว แล้วขยี้ให้ละเอียดพร้อมกับเทน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 0.7 % หรือน้ำสะอาดลงบนผ้ามุ้งเขียวที่ขยี้ถุงน้ำเชื้อให้น้ำไหลผ่านเพื่อให้น้ำเชื้อลงไปผสมกับไข่ ผสมไข่กับน้ำเชื้อให้เข้ากันโดยการคนเบา ๆ ด้วยขนไก่ประมาณ 2-3 นาที จึงนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วไปล้างน้ำสะอาด 1 ครั้ง แล้วนำไปฟัก น้ำเชื้อจากปลาตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับไข้ที่ได้จากการรีดปลาเพศเมียประมาณ 10 ตัว


8. การฟักไข่
ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติด ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลม มีน้ำตาลเข้ม ไข่ของปลาดุกเทศก็เป็นไข่ติด เช่นเดียวกับปลาดุกอุย ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลมและมีสีเขียวเข้ม นำไข่ปลาดุกที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วไปฟัก โดยโรยไข่บนผ้ามุ้งเขียวเบอร์ 20 ที่ขึงตึงที่ระดับต่ำกว่าผิวน้ำประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยระดับน้ำในบ่อที่ขึงผ้ามุ้งเขียวนั้นมีระดับน้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาและควรมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อกกไข่ปลาด้วย ไข้ปลาดุกที่ได้รับการผสมจะพัฒนาและฟักเป็นตัวโดยใช้เวลาประมาณ 21-26 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 28-30 องศาเซลเซียส ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัว จะหลุดลอดตาของมุ้งเขียวลงสู่พื้นก้นบ่อด้านล่าง หลังจากลูกปลาหลุดลอดลงสู่พื้นก้นบ่อหมดแล้วจึงย้ายผ้ามุ้งเขียวที่ใช้ฟักไข่ออกจากบ่อฟักจะใช้เวลา 6-8 ชั่วโมง ลูกปลาจะค่อย ๆ พัฒนาเจริญขึ้นเป็นลำดับจนมีอายุประมาณ 48 ชั่วโมง จึงเริ่มกินอาหาร บ่อเพาะฟักลูกปลาดุกควรมีหลังคาปกคลุมป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้แม่ปลาขนาดประมาณ 1 กิโลกรัม จะได้ลูกปลาประมาณ 5,000 -20,000 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดแม่ปลา

   งานผสมเทียมแพะ ของศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งใช้เทคโนโลยีชีวภาพและเผยแพร่องค์ความรู้โดยเฉพาะงานด้านการผสมเทียมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงพันธุ์และกระจายแพะพันธุ์ดีสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อและแพะนมทางภาคใต้ตอนบนทั้ง 7 จังหวัดซึ่งประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงาและภูเก็ต ปัจจุบัน ศูนย์ฯ มีการผสมเทียมแพะ 2 วิธี คือ

               1.การเหนี่ยวนำการเป็นสัด (Estrus synchronization) ผสมเทียมโดยกำหนดเวลา
               2.แพะเป็นสัดโดยธรรมชาติ (Natural Estrous) ผสมเทียมตามเวลาที่เหมาะสม

               การผสมเทียมแพะ หมายถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่นำน้ำเชื้อแพะเพศผู้ ฉีดเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของแพะเพศเมีย ในช่วงเวลาที่แพะเพศเมียแสดงอาการเป็นสัดยืนนิ่ง (standing heat) ยอมรับการผสม เพื่อให้เกิดการตั้งท้อง

ข้อดีของการผสมเทียมแพะ
               1.ลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงพ่อพันธุ์แพะ
               2.ช่วยให้พ่อแพะพันธุ์ดีได้ถ่ายทอดพันธุกรรมไปได้อย่างกว้างขวาง
               3. ลดอัตราเสี่ยงจากการแพร่ของโรคอันเนื่องจากการผสมพันธุ์ เช่น โรคแท้งติดต่อ (Blucellosis), โรคข้อและสมองอักเสบ (CAE) เป็นต้น
               4.ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์และลดปัญหาการผสมเลือดชิดได้

1.การเหนี่ยวนำการเป็นสัดและผสมเทียมโดยกำหนดเวลา ใช้โปรแกรมการเหนี่ยวนำ ดังนี้
               1. Day 0 การใช้ฮอร์โมน Progesterone ชนิดสอดเข้าช่องคลอด ปัจจุบันมีฮอร์โมนที่ใช้อยู่ 2 รูปแบบคือ EAZI-BREED  CIDR® ( CIDR-G ) ของ Pharmacia & Upjohn  และ Chronogest CR®  (Sponge) ของIntervet

วิธีการปฏิบัติ
               · ล้างทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศภายนอกของแพะโดยใช้น้ำสะอาดผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น Dettal เป็นต้น
               · เตรียมอุปกรณ์สำหรับสอดฮอร์โมน โดยนำฮอร์โมนใส่ในที่สอด(Applicator)แล้วทาเจลหล่อลื่นและสอดให้เข้าในช่องคลอดให้ลึกถึงหน้าคอมดลูก (Cervix)
               · ดันแกนของที่สอดให้สุดให้ฮอร์โมนค้างอยู่ในช่องคลอด และดึงที่สอดออก ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ Dettal เช็ดให้แห้งเพื่อเตรียมไว้สอดฮอร์โมนในตัวต่อๆไป

               2. Day 15  ฉีดฮอร์โมน PMSG ( Folligon®) ปริมาณ 150 IU ( 0.75 ml. ) และฉีดฮอร์โมน PGF2α (Estrumate® 0.5 ml.) ปริมาณ 125 µg. เข้ากล้ามเนื้อบริเวณคอเช่นกัน

               3. Day 17  ถอดฮอร์โมน (Cidr-G) ที่สอดในช่องคลอดออก สังเกตดูว่ามีการอักเสบของช่องคลอดหรือไม่ ถ้าพบว่ามีหนองปนออกมากับแท่งฮอร์โมนหรือเมือกมีสีผิดปกติ ให้พิจารณาที่จะล้างช่องคลอดด้วยน้ำเกลือ NSS

               4. Day 18  สังเกตอาการเป็นสัดโดยใช้แพะตัวผู้ทีเบี่ยงเบนลึงค์ช่วยในการตรวจ (ทั้งเวลาเช้า กลางวัน และเย็น) หลังถอดฮอร์โมน พร้อมกับบันทึกอาการและเวลาเป็นสัด โดยปกติแพะจะเป็นสัดประมาณ 24 ชั่วโมงหลังถอดฮอร์โมน Cidr-G

               5. Day 19/20 ผสมเทียมครั้งที่ 1 หลังถอดฮอร์โมน Cidr-G ประมาณ 48 ±3 ชั่วโมง ( ชั่วโมงที่ 45-51) และผสมเทียมครั้งที่ 2 ที่เวลาประมาณ 72 ±3 ชั่วโมง ( ชั่วโมงที่ 69-75) หลังถอดฮอร์โมน Cidr-G

โปรแกรมการเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วยฮอร์โมน CIDR-G

ฮอร์โมน CIDR-G (Controlled Internal Drug Releasing device - Goat) ที่สอดฮอร์โมน

2.แพะเป็นสัดธรรมชาติและผสมเทียมในเวลาที่เหมาะสม
               หลังสังเกตพบอาการเป็นสัดยืนนิ่ง (standing heat) จะผสมเทียม  2 ครั้ง ดังนี้
               1. ผสมเทียมครั้งแรกหลังพบแพะเป็นสัดยืนนิ่ง 24 ชั่วโมง
               2. ผสมเทียมครั้งที่สองห่างจากผสมเทียมครั้งแรก 24 ชั่วโมง หรือหลังพบเป็นสัดยืนนิ่ง 48 ชั่วโมง และหากหลังการผสมเทียมครั้งที่ 2 ถ้าแพะยังเป็นสัดยืนนิ่งให้ผสมเทียมครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่สอง 12 ชั่วโมง

อุปกรณ์ในการผสมเทียมแพะ
               1. ซองหรือแท่นสำหรับควบคุมแพะขณะผสมเทียม เป็นซองที่ทำขึ้นเพื่อจัดท่าทางแพะขณะผสมเทียมได้ง่าย โดยจะจับแพะให้อยู่ในท่ายกก้นแพะให้สูงขึ้นให้ขาหลังพาดไปกับซองเพื่อให้ง่ายต่อการผสมเทียม ในบางครั้งอาจไม่ต้องใช้ก็ได้ โดยจะให้ผู้ช่วยจับแพะให้อยู่ในท่ายกก้นให้สูงขึ้น แต่ถ้าผสมหลายตัวจะทำให้เมื่อยได้ง่าย
               2. อุปกรณ์ถ่างช่องคลอดและไฟส่องสว่าง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ถ่างช่องคลอดเพื่อให้มองเห็นคอมดลูก (External os) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะต้องสอดปืนผสมเทียมเข้าไปภายในมดลูก และต้องมีไฟฉายที่ติดอยู่กับศีรษะสำหรับส่องดูภายในช่องคลอดด้วย หรือใช้ที่ถ่างช่องคลอดที่มีไฟฉายในตัวเองภายในซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานสะดวกยิ่งขึ้น
               3. น้ำเชื้อแช่แข็งแพะพร้อมอุปกรณ์ละลายน้ำเชื้อ  น้ำเชื้อแช่แข็งแพะ จะต้องเตรียมมาให้พร้อมใช้งานโดยจะเก็บไว้ในถังสนาม และจะต้องมีอุปกรณ์ในการละลายน้ำเชื้อให้พร้อม ประกอบด้วย กระติกเทอร์โมสใส่น้ำอุ่น เทอร์โมมิเตอร์ ปากคีบหลอดน้ำเชื้อ กรรไกรตัดหลอดน้ำเชื้อ กระดาษทิชชู่เช็ดหลอดน้ำเชื้อ เจลหล่อลื่น
               4. ปืนผสมเทียมและพลาสติกชีท ปืนผสมเทียมแพะ เป็นอุปกรณ์สำหรับผสมเทียมแพะโดยเฉพาะ ซึ่งมีขนาดเล็กและสั้นกว่าของโค และมีให้เลือกใช้หลายยี่ห้อ ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ตามปกติปืนผสมเทียมแต่ละยี่ห้อจะต้องใช้ร่วมกับพลาสติกชีทยี่ห้อนั้นๆ ไม่สามารถใช้ร่วมกันต่างยี่ห้อได้ นอกจากนี้ยังมีปืนผสมเทียมบางยี่ห้อที่ไม่ต้องใช้พลาสติกชีท ทำให้ใช้งานได้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องพลาสติกชีท แต่จะมีข้อเสียในเรื่องการทำความสะอาดได้ยาก
               5. แบบบันทึกการผสมเทียมแพะ
อุปกรณ์ผสมเทียม
 
 
ขั้นตอนการผสมเทียมแพะ
               1.จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการผสมเทียมให้พร้อมใช้งาน
               2.ละลายน้ำเชื้อแช่แข็ง โดยใช้ปากคีบ คีบหลอดน้ำเชื้อจากถังสนามลงแช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 37 ºC นานประมาณ 30 วินาทีในกระติกเทอร์โมสที่เตรียมไว้ นำหลอดน้ำเชื้อขึ้นจากน้ำอุ่นแล้วเช็ดให้แห้งด้วยกระดาษทิชชู่  ใส่หลอดน้ำเชื้อในปืนผสมเทียม และตัดปลายหลอดให้ขาด แล้วสวมด้วยพลาสติกชีทที่สะอาด พร้อมที่จะผสมเทียม
               3.ในระหว่างขั้นตอนที่เตรียมน้ำเชื้อ ผู้ช่วยนำแม่แพะใส่ในซองบังคับ พร้อมกับทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอกด้วยน้ำสะอาดผสมยาฆ่าเชื้อ เช่น dettal  เมื่อพร้อมที่จะผสมเทียมให้จับขาหลังทั้ง2 ข้างยกขึ้นพาดไปกับซองผสมเทียมให้ด้านท้ายของแม่แพะสูงกว่าด้านหน้า
               4.ใช้เจลหล่อลื่นทาอุปกรณ์ถ่างช่องคลอดแล้วสอดเข้าช่องคลอดพร้อมกับใช้ไฟฉายส่องดูคอมดลูก (external os) ถ้าพบว่ามีหนองหรือเมือกปริมาณมากภายในช่องคลอด ให้พิจารณาชะล้างช่องคลอดด้วยน้ำเกลือNSS ก่อนสอดปืนผสมเทียม
               5.นำปืนผสมเทียมที่เตรียมพร้อมแล้วสอดเข้าไปในช่องเปิดของ external Os ของคอมดลูก (cervix) โดยพยายามค่อย ๆ สอดเข้าไปอย่างช้าๆ ให้ผ่านคอมดลูกเข้าไปในตัวมดลูก (body of uterus) ตามปกติในระหว่างที่แม่แพะเป็นสัดคอมดลูกจะเปิดและมีเมือกหล่อลื่นช่วยให้สอดผ่านได้ง่ายขึ้น เมื่อสอดผ่านคอมดลูกจะมีความรู้สึกว่าลื่นไหลไม่ติดขัดอะไร เมื่อแน่ใจว่าสอดผ่านเข้าไปในตัวมดลูกแล้วให้ค่อย ๆ ดันก้านปืนฉีดน้ำเชื้อปล่อยน้ำเชื้อช้า ๆ พร้อมกับค่อย ๆ ถอยปืนผสมเทียมออกมาจากมดลูก ในกรณีที่สอดปืนผสมเทียมไม่ผ่านคอมดลูกเข้าไปในตัวมดลูก อาจเนื่องจากคอมดลูกคด ก็ให้ฉีดปล่อยน้ำเชื้อช้า ๆ ที่ภายในคอมดลูกพร้อมกับค่อย ๆ ถอยปืนผสมเทียมออกจาก คอมดลูกอย่างช้า ๆ เช่นกัน เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำเชื้อเข้ามาในปืนผสมเทียม
               6.เมื่อฉีดปล่อยน้ำเชื้อจนหมด จับแพะให้อยู่ในท่าเดิมเหมือนตอนผสมเทียม นานประมาณ 1 นาที เพื่อให้น้ำเชื้อไหลเข้าไปในมดลูกได้ดียิ่งขึ้น
               7.บันทึกข้อมูลในแบบบันทึกต่าง ๆ เช่น ผท.1, ผท.9 และบันทึกข้อสังเกตต่าง ๆ ในการผสมเทียม เป็นต้น

ขั้นตอนการผสมเทียมแพะ
  

 1.จัดเตรียมอุปกรณ์
 2.ล้างทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอก
3.ยกขาหลังแพะขึ้นพาดกับซองบังคับ 
 
 4.ละลายน้ำเชื้อแช่แข็งในน้ำอุ่น
 5.ใส่หลอดน้ำเชื้อในปืนผสมเทียมให้พร้อม
 5.ทาเจลหล่อลื่นที่ตัวถ่างช่องคลอด
 
 6.สอดที่ถ่างเข้าในช่องคลอด
 ตำแหน่งที่จะสอดปืนเข้าคอมดลูก
 7.สอดปืนผสมเทียมเข้ามดลูก ปล่อยน้ำเชื้อ

 ตำแหน่งที่ปล่อยน้ำเชื้อ
ตำแหน่งปล่อยน้ำเชื้อ